วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่3 วันศุกร์ที่29 เดือน มกราคม พ.ศ. 2559


                                                                  บันทึกอนุทิน





 Knowledge

       ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


แบ่งเป็น2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง

2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง

    1.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง  เรียกทั่วไปว่า เด็กปัญญษเลิศ มีIQ ตั้งแต่120 ขึ้นไป

ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ

  • มีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัย
  • มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ
  • เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไวและช่างสังเกต
  • มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน
  • ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน
เด็กฉลาดกับเด็กปัญญาเลิศ






          

บุคคลที่มีปัญญาเลิศ


                                   
2.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง


1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา(Children With Intellectual Disabilities)

หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน

มี 2 กลุ่มคือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน



เด็กปัญญาอ่อน
แบ่งตามระดับสติปัญญา(IQ) ได้4 กลุ่ม


ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
  • พูดได้ไม่สมวัย
  • ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
  • ความคิดและอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
  • ทำงานช้า
  • รุนแรง ไม่มีเหตุผล
  • อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ
  • ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
2.เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
(Children With Hearing Impaired)



    หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเป็นเหตุที่ทำให้การรับฟังเสียงต่างๆไม่ชัดเจน  มี2ประเภท คือ เด็กหูตึงและเด็กหูหนวก

เด็กหูตึง 

หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้โดยใช้เครื่องช่วยฟัง

    

  • เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
  • เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
  • เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้ง 56-70 dB
  • เด็กหูตึงระดับรุนแรงได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB
  เด็กหูหนวก

  • เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
  • เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
  • ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้
  • ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dbขึ้นไป


                       

3.เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
 (Children With Visual Impairments)

  • เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเรือนราง
  • มีความบกพร่องทางสายตาทั้ง2ข้าง
  • สามารถเห็นได้ไม่ถึง1/10ของคนสายตาปกติ
  • มีลานสายตากว้างไม่เกิน30 องศา
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือเด็กตาบอด กับ เด็กที่ตาบอดไม่สนิท

เด็กตาบอด
  • เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง
  • ต้องใช้ประสาทอื่นในการเรียนรู้
  • มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ6/60 ,20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
  • มีลานสายตาแคบกว่า5 องศา
เด็กตาบอดไม่สนิท
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
  • สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
  • เมื่อทดสอบสายตา อยู่ในระดับ6/18,20/60.6/60.20/200 หรือน้อยกว่านั้น
  • มีลานสายตา ไม่เกิน 30 องศา




Apply

เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการ  ความต้องการและความสามารถที่แตกต่างกันออกไป ครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กโดยคำนึงถึงความสามารถและความต้องการของเด็กด้วย จะทำให้เด็กทำกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขในการทำกิจกรรม




Assessment


 Classroom   บรรยากาศน่าเรียนสะอาดแอร์ไม่เย็นเกินไป พื้นที่ไม่เหมาะในการทำกิจกรรมและ


เทคโนโลยีไม่สามารถใช้ได้


 My Self     ตั้งใจเรียนแต่งกายเรียนร้อยมีความพร้อมที่จะเรียนและแสดงความคิดเห็น


Friends      ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดเพราะ มีความพร้อมที่จะเรียนมีการจดบันทึก


Teacher      มีความพร้อมที่จะสอน มีเทคนิคการสอนสอนสนุกนักเรียนเข้าใจง่าย มีความเอาใจใส่

นักเรียนทุกคนพูดจาไพเราะและให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่2 วันศุกร์ที่22 เดือน มกราคม พ.ศ. 2559


                                                                  บันทึกอนุทิน





 Knowledge
          


                                   
                                    เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children With Special Needs)
     
                         เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ(Early Childhood With Special Need)

ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


1.ทางการแพทย์
2.ทางการศึกษา  

   ทางการแพทย์
           มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า เด็กพิการ  
  
    ทางการศึกษา
            เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง

สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง

1.เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
2.มีสาเหตุจากความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์
3.จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น  ช่วยเหลือ การบำบัด และฟื้นฟู
4.จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละคน


  พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

                            พัฒนาการ

1.การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล

2.ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    ปัจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก



สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

1. พันธุกรรม  เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาได้แต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย เช่น Cleft Lip / Cleft Plate และ ธาลัสซีเมีย




          

ผิวเผือก Albinism
                   
               

2.โรคของระบบประสาท  เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการทางระบบประสาทร่วมด้วย ที่พบบ่อย คือ อาการชัก

3. การติดเชื้อ  การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศรีษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก

4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม  โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ

5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด  การเกิดก่อนกำหนด  น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน

6. สารเคมี  

              ตะกั่ว   เป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กมากที่สุด เช่น มีอาการซึมเศร้า  เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ ภาวะตับเป็นพิษ ระดับสติปัญญาต่ำ

              แอลกอฮอล์   น้ำหนักแรกเกิดน้อย  มีอัตราการเพิ่มของน้ำหนักหลังเกิดน้อย  เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

    Fetal alcohol syndrome , FAS


  

  อาการ

  • ช่องตาสั้น
  • ร่องริมฝีปากบนเรียบ
  • ริมฝีปากบนยาวและบาง
  • หนังคลุมหัวตามาก
  • จมูกแบน
  • ปลายจมูกเชิดขึ้น

นิโคติน

อาการ

  • น้ำหนักแรกเกิดน้อย  ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
  • เพิ่มอัตราตายในวัยทารก
  • สติปัญญาบกพร่อง
  • สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาด้านการเข้าสังคม

7.การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร  ไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นเด็กพิเศษ

8. สาเหตุ อื่นๆ เช่น อุบัติเหตุ

  แนวทางวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

1. การซักประวัติ

  • โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม
  • การเจ็บป่วยทางครอบครัว
  • ประวัติฝากครรภ์
  • ประวัติเกี่ยวกับการคลอด
  • พัฒนาการที่ผ่านมา
  • การเล่นตามวัย
  • ปัญหาพฤติกรรม
  • ประวัติอื่นๆ
2. การตรวจร่างกาย





             Activity

เกม  เพื่อรูปร่างที่สวยงาม









  แบบทดสอบวัดสติปัญญา 

วิธีทดสอบ  วาดภาพตามแบบที่กำหนดให้







Apply

เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการ  ความต้องการและความสามารถที่แตกต่างกันออกไป ครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กโดยคำนึงถึงความสามารถและความต้องการของเด็กด้วย จะทำให้เด็กทำกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ



Assessment


 Classroom   บรรยากาศน่าเรียนสะอาดแอร์ไม่เย็นเกินไป ที่พอเหมาะในการทำกิจกรรม


 My Self     ตั้งใจเรียนแต่งกายเรียนร้อยมีความพร้อมที่จะเรียน


Friends      ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดเพราะ มีความพร้อมที่จะเรียน


Teacher      มีความพร้อมที่จะสอน มีเทคนิคการสอนสอนสนุกนักเรียนเข้าใจง่าย มีความเอาใจใส่นักเรียนทุกคนพูดจาไพเราะ


วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่1 วันศุกร์ที่15 เดือน มกราคม พ.ศ. 2559


                                                                  บันทึกอนุทิน



 Knowledge

                ทำแบบทดสอบก่อนเรียน

1.เด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง มีกี่ประเภทและมีประเภทใดบ้าง

1.บกพร่องทางการมองเห็น
2.บกพร่องทางการได้ยิน
3.บกพร่องทางการเรียนรู้
4.บกพร่องทางสติปัญญา
5.บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
6.บกพร่องทางการพูดและภาษา
7.บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
8.บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์
9.พิการซ้ำซ้อน

2. Down syndrome จัดอยู่ในกลุ่มของเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทใด

=>กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา




3.อาการบ่งชี้ของเด็กออทิสติกมีอะไรบ้าง

=> ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว

4.เด็กหูหนวก กับ เด็กหูตึง แตกต่างกันอย่างไร

=>หูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่าสามารถรับข้อมูลผ่านทางการได้ยิน
=> หูตึง หมายถึง  เด็กจะสามารถได้ยินเสียงได้ในระดับหนึ่ง

5. น้องโซดา อายุ6 ขวบ  ชอบเลียของเล่น  นั่งเล่นของเล่นชิ้นเดิมๆได้เป็นชั่วโมงๆโดยไม่สนใจใคร  หากวิเคราะห์จากพฤติกรรมข้างต้น  อาจสันนิษฐานได้ว่าน้องโซดาอยู่ในกลุ่มของเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทใด

=> ประเภทออทิสติก

6. เด็กสมาธิสั้นแตกต่างจากเด็กไฮเปอร์อย่างไร

=> เด็กสมาธิสั้น จะไม่สามารถทำอะไรให้เสร็จสมบูรณ์ได้
-ขาดสมาธิในการทำงาน
-หยุกหยิก
-หุนหันพลันแล่น

=> เด็กไฮเปอร์ ลักษณะของเด็กไฮเปอร์จะอยู่กับที่ไม่ได้

7.การศึกษาแบบเรียนรวมมีความหมายว่าอย่างไร

=> การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนรวมกับเด็กปกติ

8.การศึกษาแบบเรียนรวมมีชื่อภาษาอังกฤษว่าอย่างไ

=>Inclusive  Education

                                                                          


 Activity

=>ใบบันทึกการเข้าเรียน



       Apply      

=>เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันมีทั้งเด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษแต่สามารถจัดการเรียนการสอนให้เด็กเรียนรวมกันได้   



  
Assessment

 Classroom   บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบายแต่ไม่มีอุปกรณ์ที่พอเหมาะในการใช้ทำกิจกรรม


 My Self     ตั้งใจเรียนแต่งกายเรียนร้อยมีความพร้อมที่จะเรียน


Friends      ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดเพราะ มีความพร้อมที่จะเรียน


Teacher      มีความพร้อมที่จะสอน มีเทคนิคการสอนสอนมากมายทำให้การเรียนการสอนมีความสนุกสนาน และมีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น