วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่6 วันศุกร์ที่11 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2559


                                                                  บันทึกอนุทิน





 Knowledge


               เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
            (Children with Behavioral and Emotional Disorders) คือ

- เด็กที่มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ 
- แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
- มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
- เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินาน ๆ ไม่ได้
- เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
- ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย






ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์





การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ







สมาธิสั้น (Attention Deficit) คือ เด็กที่มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไป


มาพูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ





การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal) คือ การหลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเอง


ด้อยกว่าผู้อื่น เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อย


แสดงความรู้สึก




ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)

คือ ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)
- การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)
- การปฏิเสธที่จะรับประทาน
- รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
- โรคอ้วน (Obesity)
- ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)


ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง










ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก

- ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
- รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
- มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
- มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
- แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- มีความหวาดกลัว



เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม  ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก คือ
- เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
- เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)


เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)




ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ

- Inattentiveness (สมาธิสั้น)
- Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)

- Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)


สาเหตุ

- ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง
เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)
- ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
- พันธุกรรม
- สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น

       สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก


ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

- อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน 
- ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก 
- ดูดนิ้ว กัดเล็บ
- หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม 
- เรียกร้องความสนใจ 
- อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า 
- ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
- ฝันกลางวัน 
- พูดเพ้อเจ้อ 

^_^ เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)  คือ เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด




                                                         
                              


Apply


^_^  นำความรู้ ทักษะ ลักษณะอาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านอารมณ์ พฤติกรรม และเด็ก

พิการซ้ำซ้อน ไปเป็นข้อมูลและนำไปปรับใช้ในการสอนเด็กพิเศษ



                              


*หมายเหตุ      ศึกษาจาก นางสาวประภัสสร  คำบอนพิทักษ์  เนื่องจากป่วย
Assessment


 Classroom   บรรยากาศน่าเรียนสะอาดแอร์ไม่เย็นเกินไป ที่พอเหมาะในการทำกิจกรรม


 My Self     ไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากป่วย


Friends     เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน  ตั้งใจฟังคำ


แนะนำเรื่องการเลือกโรงเรียนสังเกตการสอนและนำไปใช้


Teacher      มีความพร้อมที่จะสอน มีเทคนิคการสอนสอนสนุกนักเรียนเข้าใจง่าย มีความเอาใจใส่

นักเรียนทุกคนพูดจาไพเราะ  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พร้อมกับให้คำปรึกษากับนักศึกษาทุกคน ทั้งเรื่อง


การเรียนและการเลือกโรงเรียนสังเกตการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น