วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่5 วันศุกร์ที่12 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


                                                                  บันทึกอนุทิน





 Knowledge

                              ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

6.เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children With Learning Disabilities)





  • เรียกย่อๆว่า L.D. 
  • เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
  • ไม่นับรวมกับเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
สาเหตุของ LD

  • ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวหนังสือออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
  • กรรมพันธุ์
1.ด้านการเขียน (Reading Disorder)

  • หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
  • อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
  • ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
  
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน

  • อ่านช้า อ่านคำต่อคำ
  • อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
  • เดาคำเวลาอ่าน
  • อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ
  • ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
  • ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
  • เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความความสำคัญไม่ได้



2.ด้านการเขียน(Writing Disorder)

  • เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น
  • เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
  • การสลับ เช่น สถิติ เป็น สติถิ






            ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน



3.ด้านการคิดคำนวณ(Mathematic Disorder)






  • ตัวเลขผิดลำดับ
  • ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลข
  • ไม่เข้าใจหลักเลข หน่วย สิบ ร้อย
  • แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ



   4.หลายๆด้าน  ร่วมกัน (มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง) 

อาการที่มักเกิดร่วมกับLD


  • แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
  • มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
  • เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย ขวา
  • สมาธิไม่ดี(ADHDร่วมด้วย)
  • เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
  • ทำงานช้า
  • ฟั่งคำสังสับสน
  • ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา

        7.ออทิสติก(Autistic)




  • หรือออทิซึ่ม (Autism) รักษาได้แต่ไม่หายขาด
  • เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • ไม่สามารถเข้าใจคำพูด  ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
  • เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
  • ไม่ชอบอะไรบางอย่าง
คำสำคัญ =>ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว




ลักษณะของเด็กออทิสติก


  • อยู่ในโลกของตนเอง
  • ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
  • ไม่เข้าไปเล่นกลับกลุ่มเพื่อน
  • ไม่ยอมพูด
  • เคลื่อนไหวแบบซ้ำ
  • มีความสามารถพิเศษ





             Activity

ดูวิดีโอของบุคคลที่เป็นออทิสติกแต่มีความสามารถเฉพาะด้าน








Apply

เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันการจัดกิจกรรมควรคำนึงถึงเด็กและความสามารถของเด็กด้วยเพื่อให้เด็กได้มีความสุขในการทำกิจกรรมและเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด


Assessment


 Classroom   บรรยากาศน่าเรียนสะอาดแอร์ไม่เย็นเกินไป ที่พอเหมาะในการทำกิจกรรม


 My Self     ตั้งใจเรียนแต่งกายเรียนร้อยมีความพร้อมที่จะเรียน ตอบคำถามและสนใจในการเรียน


Friends      ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดเพราะ มีความพร้อมที่จะเรียน การจดบันทึกและตอบคำถาม


Teacher      มีความพร้อมที่จะสอน มีเทคนิคการสอนสอนสนุกนักเรียนเข้าใจง่าย มีความเอาใจใส่นักเรียนทุกคนพูดจาไพเราะ

บันทึกครั้งที่4 วันศุกร์ที่5 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


                                                                  บันทึกอนุทิน





 Knowledge

       ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

4.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา(Children With Speech and Language Disorders)


                                       



เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด(IQ ปกติ)

หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียนพูด


  1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง
  2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
  3. ความบกพร่องของเสียงพูด




ความบกพร่องทางภาษา

หมายถึงการขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้

1.การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย(Delayed Language)

  • มีความยากลำบากในการใช้ภาษา
  • มีความผิดปกติของไวยากรณ์
  • ไม่สามารถสร้างประโยคได้
  • ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วนๆ
2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพสมอง โดยทั่วไปเรียกว่า
Dysphasia หรือ aphasia

  • อ่านไม่ออก =>เขียนได้
  • เขียนไม่ได้=>พูดได้ชัดเจน
  • สะกดคำไม่ได้
  • ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
  • จำคำหรือประโยคไม่ได้
  • ไม่เข้าใจคำสั่ง
  • พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา


  • ในวัยทารกมักเงียบ ร้องไห้เบาๆและอ่อนแรง
  • ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ10เดือน
  • ไม่พูดภายในอายุ 2ขวบ
  • หลัง3ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
  • ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
  • หลัง5ขวบเด็กยังใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถม
  • มีปัญหาในการสื่อความหมาย
  • ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย



5.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
(Children With Physical and Health Impairments )



  • เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
  • อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
  • เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
  • มีปัญหาทางระบบประสาท
  • มีความลำบากในการเคลื่อนไหว



โรคลมชัก( Epilepsy)




  • เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง
  • มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน


การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานในกรณีเด็กมีอาการชัก
  • จับเด็กนอนตะเองขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
  • ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
  • หาหมอนหรือสิ่งนิ่มๆรองศรีษะ
  • ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจากปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
  • จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
  • ห้ามน้ำวัตถุใดๆใส่ในปาก
  • ทำการช่วยหายใจโดยวิธีเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ




                
         ซี.พี. (Cerebral Palsy)      

              

  


  • การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด 
  • การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมอแตกต่างกัน

1.กลุ่มแข็งแกร็ง(Spastic)

1. spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
2. spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
3. spastic paraplegia อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
4. spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว



         2. กลุ่มที่มีอาการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง
         (athetoid ; ataxia)



    athetoid คือ อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบาง

      รายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย

 ataxia คือ มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน


3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)
กล้ามเนื้ออ่อนแรง(Muscular Distrophy)
  • เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆเสื่อมสลายตัว
  • เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
  • จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ สติปัญญาเสื่อม


           1. โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)

           2. โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) 

           3. โปลิโอ (Poliomyelitis)


  • มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก 
  • ยืนไม่ได้ หรือยืนได้ด้วยอุปกรณ์เสริม

           4. โรคระบบทางเดินหายใจ
          โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus )  

           5. โรคหัวใจ (Cardiac Conditions)

           6. โรคมะเร็ง (Cancer)

           7. เลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia) 

           8. แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)



แขนขาด้วนแต่กำเนิด(Limb Deficiency)




ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

- มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว 
- ท่าเดินคล้ายกรรไกร
- เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
- ไอเสียงแห้งบ่อย ๆ 
- มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง 
- หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว 
- หกล้มบ่อย ๆ
- หิวและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ



             Activity


ดูวิดีโอ






Apply


เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันเนื่องจากความผิดปกติต่างๆไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายหรือความผิดปกติทางสมองเด็กทุกคนก็อยากได้โอกาสต่างๆและกำลังใจจากบุคคลรอบข้าง ในด้านการเรียนการสอนก็เช่นกันครูควรคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคน และพัฒนาการของเด็กเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ





Assessment


 Classroom   บรรยากาศน่าเรียนสะอาดแอร์ไม่เย็นเกินไป ที่ไม่เหมาะในการทำกิจกรรม เทคโนโลยีไม่


พร้อมใช้งาน


 My Self    แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มีความพร้อมที่จะเรียน จดบันทึกและร่วมแสดงความคิดเห็น


Friends    แต่งกายเรียบร้อย ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดเพราะ มีความพร้อมที่จะเรียน


Teacher      มีความพร้อมที่จะสอน มีเทคนิคการสอนสอนสนุกนักเรียนเข้าใจง่าย มีความเอาใจใส่

นักเรียนทุกคนพูดจาไพเราะ