วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่11 วันศุกร์ที่28 เดือน เมษายน พ.ศ. 2559


                                                                  บันทึกอนุทิน





 Knowledge

(เรียนชดเชย)
               
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)


แผน IEP
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย

•ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
•ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
•การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
•เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
•ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน

•วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก


ประโยชน์ต่อครู

•เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
•เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
•ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
•เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
•ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ


ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง



•ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
•ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
•เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล



1. การรวบรวมข้อมูล

2. การจัดทำแผน

การกำหนดจุดมุ่งหมาย


ระยะยาว
•ระยะสั้น


จุดมุ่งหมายระยะยาว



•กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
–น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
–น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
–น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้


จุดมุ่งหมายระยะสั้น



•ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
•เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
•จะสอนใคร
•พฤติกรรมอะไร
•เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
•พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน




ตัวอย่าง เช่น




                               

3. การใช้แผน 


•เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
•นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
•แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก

•จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
-ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง

1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก


4. การประเมินผล


•โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น

•ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล


** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**



                              


                                  



ภาพกิจกรรมในห้องเรียน


  •      




                                 










ภาพการมอบรางวัลเด็กดี


                       



                                          



                                                         
                              


Apply



การที่จะประเมินเด็กในเรื่องของทักษะ หรือการทำกิจกรรมต่างๆเด็กแต่ละคนมีทักษะที่แตกต่างกันวิธีที่ใช้วัดหรือเกณฑ์ที่ใช้วัดก็ย่อมแตกต่างกันด้วย





                              



Assessment


 Classroom   บรรยากาศน่าเรียนสะอาดแอร์ไม่เย็นเกินไป ที่พอเหมาะในการทำกิจกรรม


 My Self   ตั้งใจฟังที่อาจารย์บรรยาย และร่วมตอบคำถาม 


Friends     เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน  ตั้งใจฟังคำ


แนะนำเรื่องการเลือกโรงเรียนสังเกตการสอนและนำไปใช้


Teacher      มีความพร้อมที่จะสอน มีเทคนิคการสอนสอนสนุกนักเรียนเข้าใจง่าย มีความเอาใจใส่

นักเรียนทุกคนพูดจาไพเราะ  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พร้อมกับให้คำปรึกษากับนักศึกษาทุกคน ทั้งเรื่อง


การเรียนและการเลือกโรงเรียนสังเกตการสอน

บันทึกครั้งที่10 วันศุกร์ที่22 เดือน เมษายน พ.ศ. 2559


                                                                  บันทึกอนุทิน





 Knowledge



 การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


  •  เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน 
  •  ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด  
  •  เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
             

ารฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  • เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
  • เกิดผลดีในระยะยาว
  • เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
  • แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(Individualized Education Program; IEP)
  • โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  • การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน(Activity of Daily Living Training)
  • การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
  • การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

การบำบัดทางเลือก
  • การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
  • ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
  • ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
  • การฝังเข็ม (Acupuncture)
  • การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)




Picture Exchange Communication System (PECS)








บทบาทของครู
  • ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
  • ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
  • จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
  • ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง 

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็ก


1. ทักษะทางสังคม

      ยุทธศาสตร์การสอน

  • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
  •  ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  •  จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  • ครูจดบันทึก
  • ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
  •  คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
  • ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
  •  เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น

  • อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
  •  ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  •  เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
  •  ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม


      การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น

- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
- ทำโดย “การพูดนำของครู”







2. ทักษะภาษา

        การวัดความสามารถทางภาษา
  •  เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  •  ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

  •  ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  •  ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด”
  •  อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  •  ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด




                                        
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัม

  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว


การสอนตามเหตุการณ์(Incidental Teaching)


     


                  

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง


เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)


                   
การวางแผนทีละขั้น


                                     



4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน


เป้าหมาย
•การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
•มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
•เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
•พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น

•อยากสำรวจ อยากทดลอง


การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
 จัดกลุ่มเด็ก
•เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
•ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
•ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
•ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
•ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
•บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
•รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
•มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
•เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง




ภาพกิจกรรมในห้องเรียน

                     


                 
                              


Apply




การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการและพฤติกรรมในการช่วยเหลือหรือดูแลตัวเองในเรื่องง่ายๆเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน



                              



Assessment


 Classroom   บรรยากาศน่าเรียนสะอาดแอร์ไม่เย็นเกินไป ที่พอเหมาะในการทำกิจกรรม


 My Self    แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม


Friends     เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน  ตั้งใจฟังคำ


แนะนำเรื่องการเลือกโรงเรียนสังเกตการสอนและนำไปใช้


Teacher      มีความพร้อมที่จะสอน มีเทคนิคการสอนสอนสนุกนักเรียนเข้าใจง่าย มีความเอาใจใส่

นักเรียนทุกคนพูดจาไพเราะ  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พร้อมกับให้คำปรึกษากับนักศึกษาทุกคน ทั้งเรื่อง


การเรียนและการเลือกโรงเรียนสังเกตการสอน